top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนโทนี่ กระต๊าก

ถึงเวลา ที่เอ็งต้องรับกรรมแล้ว อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม

15 ปี "อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม" เมื่อเวรกรรมย้อมหัวแดง ใส่ไนกี้ และถือไม้หน้าสาม

"ถึงเวลาที่เอ็งต้องรับกรรมแล้ว" "กรรมเหี้ยไรใส่ไนกี้ มึงบ้ารึเปล่า" ไดอะล็อกกวนๆ จากหนึ่งในหนังมาสเตอร์พีซของผู้กำกับ "เรียว-กิตติกร เลียวศิริกุล" ที่ยกแคสติ้งบางส่วนมาจาก Goal Club เกมล้มโต๊ะ งานทดลองมันส์ๆ ที่เล่าเรื่อง "เวรกรรม" โดยตีความให้ทันสมัย ฉูดฉาด ด้วยบรรจุหีบห่อที่มีความเป็นหนังวัยรุ่น รุนแรง กวนตีน


และดราม่า มีความสดใหม่ เอาหลักวิทยาศาสตร์มาผสมผสานแบบไม่เคอะเขิน เพราะสองสิ่งนี้แทบจะกอดคอเดินเถียงกันเสมอมา อหิงสาฯ คือหนัง High Concept ที่พล็อต การเล่าเรื่องมีความอินเตอร์ ดูเอาง่ายก็สนุก แต่หากถอดรหัสบางอย่าง หนังมีความซับซ้อนชวนขบคิดที่สนุกไม่แพ้ตัวหนัง เมื่อสิ่งที่เราถูกเตือนกันว่า "ระวังเวรกรรมจะตามทัน" เสือกวิ่งตามด้วยรองเท้าไนกี้ ย้อมหัวแดง และหวดด้วยไม้หน้าสาม ไม่ใช่ชาติหน้า แต่เป็นตอนนี้ แค่คิดก็โคตรสนุกแล้ว หนังเล่าถึง ดูหนังฟรี "อหิงสา" ที่วัยเด็กเคยป่วยไร้สาเหตุจนเกือบไม่รอดชีวิต ด้วยบาปกรรมที่ติดตัวมา แต่สุดท้ายก็รอดและโตมาด้วยการใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง จนถึงเวลาที่เวรกรรมของ "อหิงสา" กลับมาทวงหนี้กรรมที่ต้องชดใช้ ซึ่งหนังตั้งคำถามผ่านตัวละครนี้ว่า เขาจะฝืนชะตาสู้เพื่อเอาชนะเวรกรรม หรือยอมรับกรรมที่เคยได้ก่อไว้ ซึ่งหนังเล่นกับเรื่องภพชาติ ศาสนา บาปกรรม ความจริงกึ่งฝัน และอาการหลอนยาได้เฟี้ยว กวนตีน เจ็บปวด และโคตรสนุก

ดูหนังฟรี

หนังมีการดีไซน์ตัวละครที่มีความหมาย และย้อนแย้งอย่างมีนัยยะสำคัญ

"อุโฆษ" ตัวละครที่ชอบเข้าวัดทำบุญ หยอดตู้บริจาคหวังได้ขึ้นสวรรค์ แต่สุดท้ายศรัทธาที่อุโฆษเชื่อ ถูกทุบจนแหลกสลาย การทำดีสร้างบุญกุศล กลับทำให้ตัวเองเจอเรื่องที่เลวร้ายสุดในชีวิตจนยากจะลืม สุดท้ายอุโฆษฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นบาปที่ร้ายแรงสุดในพุทธศาสนา "อหิงสา" หรือ "อหิงสกะ" ชื่อเดิมของ "องคุลีมาล"


แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน หนังดีไซน์ตัวละครนี้ให้บาปหนา และถลำตัวจนเหตุการณ์บานปลาย ท้ายที่สุดแม้กลับใจได้ หยุดและสำนึก จนนำมาซึ่งการหลุดพ้นเหมือนกับองคุลีมาล ซึ่งในหนังก็มีการพูดถึงว่าเขาฆ่ามาแล้ว 999 ศพ ด้วย ตัวละครนี้แฝงเมสเสจเอาไว้ เหมือนที่ "เวรกรรมหัวแดง" คอยเตือนเสมอว่าให้ปล่อยวาง หยุดสร้างเวรกรรม หนังใหม่ชนโรง การฝืนชะตาแก้แค้น พยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ มีแต่จะสร้างกรรมมากขึ้น แค่ปล่อยให้เป็นกรรมใครกรรมมันเท่านั้น "พัทยา" คนรักในภพชาติก่อนของอหิงหา เป็นดั่งแสงสี ความหลงใหล สวยงาม และความอันตรายเหมือนเมืองพัทยา ในบทหมอ เธอเหมือนที่พึ่งของคนเจ็บป่วยทางร่างกาย/จิตใจ เปรียบดั่งกิเลส ซึ่งเธอเองคือเวรกรรมของอหิงสาในชาติที่แล้ว จึงเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมด และทำให้อหิงสาหลุดพ้น "ไอน์สไตน์" ตัวละครที่สร้างมาอ้างอิงเรื่องวิทยาศาสตร์ในหนัง วิทยาศาสตร์คือสัญลักษณ์ของการพิสูจน์ความจริงที่จับต้องได้ ตัวละครนี้จึงค้นหาความจริง


ความหมายต่างๆ นาๆ ทั้งชีวิตหลังความตาย และการหลุดพ้น แต่กลับไม่พบทางออก สุดท้ายหนังเฉลยว่า ตัวละครนี้ไม่ได้หัวหยิก หรือพิการ และเมื่อเขาถอดเปลือกนอกที่ไม่จริงออกไป (วิกผม-เก้าอี้ไฟฟ้า) จึงได้รู้หนทางหลุดพ้นจากเวรกรรม นั่นคือการ "หยุด"​

ดู 18 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


โพสต์: Blog2_Post
bottom of page