ตีความตัวละคร การเชื่อมโยงระหว่าง วิทยาศาสตร์-ศาสนา ใน "อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม"
"กรรมเหี้ยใส่ไนกี้...มึงบ้ารึเปล่า" ประโยคเด็ดที่แต่งองค์ทรงเครื่องให้ "อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม" เป็นหนังมาดกวน(ตีน) แต่หากถอดรหัสออกมา นี่คือหนังที่เปี่ยมไปด้วยไอเดีย และการเล่าเรื่อง ตีความที่ทะเยอทะยาน และโคตรกล้า ในประเด็น ศาสนา และวิทยาศาสตร์ ในรูปแบบของ "เวรกรรม"
อีกหนึ่งรายละเอียดที่หนังใส่เอาไว้ ด้วยการดีไซน์ตัวละครที่มีความหมาย และย้อนแย้งอย่างมีนัยยะสำคัญ (เป็นการตีความส่วนตัวของผู้เขียน) "อุโฆษ" ตัวละครที่ชอบเข้าวัดทำบุญ ดูหนังออนไลน์ หยอดตู้บริจาคหวังได้ขึ้นสวรรค์ แต่สุดท้ายศรัทธาที่อุโฆษเชื่อ ถูกทุบจนแหลกสลาย การทำดีสร้างบุญกุศล กลับทำให้ตัวเองเจอเรื่องที่เลวร้ายสุดในชีวิตจนยากจะลืม สุดท้ายอุโฆษฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นบาปที่ร้ายแรงสุดในพุทธศาสนา
"อหิงสา" หรือ "อหิงสกะ" ชื่อเดิมของ "องคุลีมาล" แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน
หนังดีไซน์ตัวละครนี้ให้บาปหนา และถลำตัวจนเหตุการณ์บานปลาย ท้ายที่สุดแม้กลับใจได้ หยุดและสำนึก จนนำมาซึ่งการหลุดพ้นเหมือนกับองคุลีมาล ซึ่งในหนังก็มีการพูดถึงว่าเขาฆ่ามาแล้ว 999 ศพ ด้วย ตัวละครนี้แฝงเมสเสจเอาไว้ เหมือนที่ "เวรกรรมหัวแดง" ออกเตือนเสมอว่าให้ปล่อยวาง หยุดสร้างเวรกรรม การฝืนชะตาแก้แค้น พยายามเปลี่ยนแปลง
สิ่งต่างๆ มีแต่จะสร้างกรรมมากขึ้น แค่ปล่อยให้เป็นกรรมใครกรรมมันเท่านั้น "พัทยา" คนรักในภพชาติก่อนของอหิงหา เป็นดั่งแสงสี ความหลงใหล สวยงาม และความอันตรายเหมือนเมืองพัทยา ซีรี่ย์ Netflix ในบทหมอ เธอเหมือนที่พึ่งของคนเจ็บป่วยทางร่างกาย/จิตใจ เปรียบดั่งกิเลส ซึ่งเธอเองคือเวรกรรมของอหิงสาในชาติที่แล้ว จึงเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวทั้งหมด และทำให้อหิงสาหลุดพ้น "ไอน์สไตน์" ตัวละครที่สร้างมาอ้างอิง และคานเรื่องวิทยาศาสตร์ในหนัง วิทยาศาสตร์คือสัญลักษณ์ของการพิสูจน์ความจริงที่จับต้องได้ ตัวละครนี้จึงค้นหาความจริง
ความหมายต่างๆ นาๆ ทั้งชีวิตหลังความตาย และการหลุดพ้น แต่กลับไม่พบทางออก สุดท้ายหนังเฉลยว่า ตัวละครนี้ไม่ได้หัวหยิก หรือพิการ และเมื่อเขาถอดเปลือกนอกที่ไม่จริงออกไป (วิกผม-เก้าอี้ไฟฟ้า) จึงได้รู้หนทางหลุดพ้นจากเวรกรรม นั่นคือการ "หยุด"
Comentarios