รีวิวนี้มีสปอยล์เนื้อหาเผื่อไปยังคนที่จับต้นชนปลายไม่ถูก เก็บอะไรๆในหนังไม่หมด
เพราะเราเองก็มึนๆเช่นกัน ยิ่งโง่ๆอยู่ด้วย อ่านทำความเข้าใจก่อนไปตำกันก็ได้ หรือเข้าไปดูกันก่อนมาอ่านก็น่าจะดี แต่ออกตัวไว้เลยว่า หนังลาวแม่งเริ่มไปไกลแล้ว พล็อตง่ายๆที่วางไว้คือ ชายแก่บ้านนอกผู้ติดต่อกับโลกหลังความตายได้ มีศพผู้หญิงหายไป ตำรวจมาให้ช่วยติดต่อวิญญาณและตามหาศพ พล็อตบ้านผีปอบมาก
ตอนเข้าไปดูก็คิดว่าจะได้ดูอะไรบ้านๆเขย่าขวัญ น่าขนลุก แต่ไม่เลย หนังพาเราไปไกลว่านั้น ไกลจนเรื่องย่อที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหนังพระนครฟิล์มไปเลย เพราะเนื้อในจริงๆคือหนังไซไฟล้ำๆที่โยงเอาเรื่องวังวนเวียนว่ายของสังคมชนบทที่กำลังต่อสู้กับความเจริญที่เริ่มคืบคลานเข้ามา มีประเด็นความเชื่อเรื่องผีๆสางๆ ที่ไม่ได้มาแนวๆผีๆ แต่จะเป็นเชิงเปรียบเปรยมากกว่า ไม่ใช่หนังผีหลอกหลอนคนแบบตาถลน ไส้พุงทะลัก แต่มันคือหนังผีที่ผีถูกคนพยายามหลอกผีอีกที คนที่เอารากเหง้าเดิมๆของสังคมชนบทมาลวงให้ผีคิดว่ามันดีแล้ว จะไปเปลี่ยนมันทำส้นตีนอะไร อยู่กันแบบนี้นี่แหละ ผีในที่นี้คือผีที่โดนกักขังด้วยความหวังดีของคนหัวเก่า คนหัวเก่าที่ตัวเขาเองก็ปฏิเสธความเจริญของโลกไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่แค่เท่านั้นอีกนั่นแหละที่หนังต้องการสื่อ เพราะใน Part.ของความไซไฟของหนังก็มีเต็มไปหมดเช่นกัน ทั้งในเรื่องการย้อนอดีตไปหาตัวเองในวัยเด็กของลุงที่ไม่ได้มีเครื่องย้อนเวลาอะไรๆแบบที่หนังฮอลลีวู้ดชอบถลุงเงิน แต่หนังจะมาแบบน้อยแต่ได้มาก คือหากใครเคย ดูหนังฟรี Midnight in Paris ของ วู้ดดี้ อัลเลน นั่นแหละที่ The Long walk เป็น เป็นหนังไซไฟที่ไม่ได้มีแสงวาร์ปหรือซีจีล้ำๆ แต่ตีรวมประเด็นด้านความเชื่อเรื่องผี เรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลก การกลับไปแก้ไขอดีตที่ส่งผลต่ออนาคต หรือแม้กระทั่งเรื่องเพศที่สาม ซึ่งหนังวางเกร็ดขนมปังให้คนดูตามเก็บ ตามตีความสัญลักษณ์ไว้เต็มไปหมด สัญลักษณ์ที่ว่านั้นต้องไปตามดูในรายทางเอาเอง เป็นหนังที่ใครเอามาทำคลิปสปอยล์ใน Youtube แบบที่เขาฮิตทำๆกันอยู่นี่ได้กูจะไม่เหยียดและจะยอมใจในความกล้าหาญของมึงด้วย สัญลักษณ์ที่ต้องตามเก็บในรายทางอย่างเช่น เทคโนโลยีที่เปรียบเหมือนอวัยวะที่ 33 ของคนในอนาคต หนังไม่ได้อธิบายความเป็นมามากมายว่ายุคในหนังมันเกิดขึ้นในอนาคตอันไกลสักแค่ไหน แต่หนังฉลาดที่จะแอบใส่ข้าวของ รูปแบบอาหารการกิน หรือ ยานพาหนะให้เรารู้เองโดยอัตโนมัติว่ายุคของเด็กชายนั้นคือยุคปัจจุบันนี่เอง(เห็นได้จากรถเบ๊นซ์รุ่นใหม่) แต่ในยุคของชายชรานั่นคือยุคที่โลกล้ำไปแล้วอีกราวๆ 50 ปี คนไม่สูบบุหรี่จริงกันแล้ว ทุกคนมีชิปฝังในตัวเป็นเหมือนสมาร์ทโฟน ร้านรับซื้อของเก่าแทนที่จะรับซื้ออะไรที่คลาสสิคๆเช่นพวกตะเกียง เชิงเทียน แจกัน ฯลฯ แต่กลายเป็นว่าอะไหล่รถมอร์ไซค์ที่เราขี่ๆ กันในยุคปัจจุบันนี้แหละมันกลายเป็นของคลาสสิคไปเลยในยุคของชายชรา , ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ชายชราเองก็ปฏิเสธความเจริญไม่ได้ด้วยซ้ำ
แม้ว่าจะยังใช้ชีวิตในวิถีเดิมๆ แต่งกายแบบลูกทุ่งบ้านๆ ที่อยู่อาศัยเป็นแบบเก่าก็เถอะ
แต่ชายชราก็มีชิปฝังตัวแบบคนอื่นๆ และสูบบุหรี่ไฟฟ้า นี่เองคือความไซไฟของหนังอีกอย่างที่เล่นกับการจับไต๋ได้ของคนดู ชายชราหัวเก่าผู้ใช้ความห่วงใยสังคมจิตวิญญาณแบบเก่า มาเหนี่ยวรั้งวิญญาณให้วนเวียนอยู่ในโลกใบเก่า โลกที่ชายชราเองก็แอบๆเอนเอียงไปตามยุคสมัย แต่ดันไปห่วงคนอื่นว่าจะถูกสังคมทุนนิยมกลืนกิน
การปลดปล่อยด้วยการเผาศพหรือการไปเกิดใหม่ใน The Long walk เปรียบเหมือนการก้าวสู่ยุคใหม่ อาจรวมทั้งในส่วนของเรื่องเทคโนโลยี หรือการเมืองการปกครองด้วย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเพศที่ในหนังเผยให้เห็นว่าชายชราไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้หญิงจะรักกับผู้หญิงด้วยกัน อันที่จริงความห่วงใยของชายชราก็มีความน่าขนลุกอยู่ทุกอณู ทั้งพฤติกรรมและแนวคิด หรือเพราะเขาดูเหมือนจะสื่อสารกับผีได้ แต่ในความเป็นจริงเขาทำงานให้ผีต่างหาก เข้าสมการ ผีหลอกคน คนก็มาหลอกผีอีกที ดูซับซ้อนดีแท้ "ผี"ในหนังเรื่องนี้ในความคิดส่วนตัวแล้ว เปรียบเหมือนเพศแม่ เพศที่สามารถชี้เป็นชี้ตายโลกได้เลยทั้งในเรื่องการขยายเผ่าพันธุ์ และความเจริญก้าวหน้า หนังใหม่ชนโรง "ผีสาว"แต่งตัวดีที่ตายในป่า คือตัวแทนแห่งโลกทุนนิยมแบบพึ่งพาอาศัยผ่านการดีลกันระหว่างชายชรา กับ ผีสาว กล่าวคือ มึงได้ส้มแสนอร่อยและได้เงินทุนจากกูไป(เงินในถุงที่เด็กชายแอบเอามาให้แม่) มึงต้องขับเคลื่อนงานให้กู เราคือเพื่อนกันนะ แม้จะไม่ได้สื่อสารด้วยการพูดคุยกันตรงๆและไม่ได้ออกคำสั่งแบบโต้งๆ แต่มึงได้ส้มจากกูไปชิ้นสองชิ้น มึงต้องเดินงานให้กู มึงต้องย้อนอดีตไปบอกมึงในวัยเด็กให้ทำอะไรๆที่กูกับมึงเห็นว่าดี ที่สำคัญคือต้องเคารพสักการะกู โดยการสร้างศาลให้ และต้องเอาส้มกลับมาเซ่นไหว้กูเยอะกว่าที่กูให้มึง และ"เงิน"ในหนังก็สื่อถึงวัตถุที่ทำให้คนบ้าคลั่ง จากการที่หนังเล่าถึงผู้เป็นพ่อของเด็กชายที่ไม่เคยตบตีแม่เลย ก็ต้องมาตบตีเพราะเงิน นี่คือการเปรียบเปรยที่คมคาย ไซไฟปรัชญาสุดตีนถีบที่ขอปรบมือให้ ส่วนผีผู้หญิงหลายๆตัวในหมู่บ้านที่ถูกชายชรากลบฝังปิดผนึกให้อยู่ในวังวนเดิมๆคือตัวแทนของผู้ถูกกดขี่ด้วยความหวงแหน ให้อยู่ในพื้นที่ของผีหญิงสาวตัวแรกที่เขาพบเจอและทำงานให้อีกที เขาเคยสูญเสียแม่ให้กับการเวียนว่ายตายเกิดจากการเผา แล้วแล้วก็ไม่ได้เจอแม่อีกเลย แต่การกลบฝังนั้นอาจทำให้เขายังคงมีแม่วนเวียนข้างๆกาย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาเห็นดีเห็นงามกับการ"วนเวียนอยู่"แทนที่จะเป็นการ"เวียนว่ายตายเกิด"อย่างที่ควรเป็น มีตอนหนึ่งที่เด็กชายบอกกับชายชราว่า "ผมไม่อยากเป็นคนอย่างนั้น ไม่อยากทำแบบนั้นเลย" แต่คนที่เด็กชายพูดด้วยนั่นก็คือเขาในอนาคตนั่นเอง ซึ่งก็ได้คำตอบในเชิงที่ว่า " มึงก็ต้องเป็นนั่นแหละ กูเป็นแล้วมึงก็ต้องเป็น เพราะกูกับมึงก็คนเดียวกัน" แม่งไซไฟสัสๆทั้งที่ฉากหลังแม่งอยู่ในบ้านไม้เก่าๆ แต่โลกย่อมต้านทานความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การปลดแอกของผีไม่ได้จบลงที่ฉากการต่อกรแบบทะเยอทะยาน หนังใส่ความทุลักทุเลต่อสู้กับตัวเองของชายชรา ราวกับจะบอกคนดูให้รู้ว่าแนวคิดโลกเก่าที่แสนร้ายกาจกำลังจะแพ้ภัยตัวเอง ในช่วงท้ายของหนังหากสังเกตกันดีๆ ความเจริญได้คืบคลานเข้ามาแล้วจากการที่หนังใส่แบ็คกราวนด์ที่เห็นอยู่ไกลๆว่าเป็นตึกสูงและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งบทสรุปค่อนข้างเจ็บปวดกับบทสนทนาร้าวๆที่ผีสาวพูดกับชายชราทั้งที่เดินทางด้วยกันมานานหลายปี ไม่มีถูกมีผิดหากจะมีใครตีความได้ในอีกทาง สารภาพตามตรงว่าหนังพาไปได้ไกลมาก อยู่ที่ว่าใครจะปะติดปะต่อได้ ถ้าเครื่องติดก็ยาวๆไปเลย ถ้ามีรอบสองน่าจะตกผลึกได้มากกว่านี้ แต่รวมๆแล้วหนังถ่ายภาพได้สวยสัสหมา ไม่มีหลุดโทนเลย
และนักแสดงทำหน้าที่ได้ดีมาก ส่วนตัวชอบบทของ ลีน่า มากๆ เธอเป็นคนสวยเซ็กซี่แม้อยู่ในสภาพที่โทรม แถมเล่นหนังได้เป็นธรรมชาติมาก ส่วนบทชายชรา กับ บทเด็กชาย ก็พูดได้เต็มปากว่าคือนักแสดงคุณภาพจริงๆ ปรบมือให้ผู้กำกับหญิงลาว แม็ตตี้ โด ที่เก๋าในฝีมือจนน่าตกใจ
Comments